หลักสูตร “กฎหมายมหาชนกับการบริหารงานมหาวิทยาลัย” รุ่นที่ 5
วันที่ 21-22-23 มีนาคม 2561
โรงแรมปทุมวันปริ้นเซส กรุงเทพมหานคร
หมายเหตุ : ก่อนกรอกออนไลน์
– สถาบันฯ รับสมัครผู้เข้าร่วมหลักสูตร จำนวน 30 ท่าน เท่านั้น โดยพิจารณาจากลำดับการสมัครและการชำระค่าลงทะเบียนภายในวันที่ 16 มีนาคม 2561
– ค่าลงทะเบียน 21,000 บาท/ท่าน (ไม่รวมที่พัก)
– หากผู้สมัคร ยกเลิก การเข้าร่วมหลักสูตร สถาบันฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการคืนค่าลงทะเบียน แต่จะทำการเลื่อนการเข้าร่วมหลักสูตรไปในรุ่นถัดไป
In-house Training กรุณาติดต่อคุณฉันทลักษณ์โดยตรง
ปัจจุบันมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยจำนวนมาก เช่น กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา กฎหมายว่าด้วยการบริหารส่วนงานในสถาบันอุดมศึกษา กฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่ง เป็นต้น ตลอดจนมีการยกร่างกฎหมายเกี่ยวกับอุดมศึกษาที่สำคัญอีก 2 ฉบับ ได้แก่ ร่างกฎหมายว่าด้วยระเบียบการบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษา และร่างกฎหมายการอุดมศึกษาซึ่งเกี่ยวข้องกับผู้บริหารและบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาทุกคน นอกจากนี้แล้ว ยังมีกฎหมายปกครองอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง กฎหมายว่าด้วยความผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง เป็นต้น กรรมการสภามหาวิทยาลัย และผู้บริหารมหาวิทยาลัย จากทั้งสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เป็นส่วนราชการ สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ และสถาบันอุดมศึกษาเอกชน จำเป็นต้องยึดกฎหมายเหล่านี้เป็นหลักเพื่อสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง อันจะนำไปสู่การดำเนินงานการบริหารจัดการองค์กรที่ดี ตลอดจนลดความขัดแย้ง และลดข้อพิพาททางกฎหมายที่อาจจะเกิดขึ้นได้
“สถาบันธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย” ซึ่งจัดตั้งขึ้นภายใต้ สถาบันคลังสมองของชาติ มูลนิธิส่งเสริมทบวงมหาวิทยาลัย ได้จัดหลักสูตร “กฎหมายมหาชนกับการบริหารงานมหาวิทยาลัย” ขึ้น สำหรับกรรมการสภามหาวิทยาลัย และผู้บริหารมหาวิทยาลัยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งลดความเสี่ยงของการดำเนินงาน และการปฏิบัติหน้าที่ที่อาจขัดกับกฎหมายตลอดจนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ และความเข้าใจที่ดีระหว่างกัน
โดยมีวัตถุประสงค์
1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายต่างๆ ที่ กรรมการสภามหาวิทยาลัย ผู้บริหารและบุคลากรมหาวิทยาลัยควรทราบ เพื่อการดำเนินงานการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง
2. เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติต่างๆ ภายใต้กฎหมาย
3. เพื่อมีความรู้ ความเข้าใจในบทบาท อำนาจหน้าที่ และความรับผิดทางกฎหมาย
4. เพื่อมีความรู้ความเข้าใจกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถนำไปใช้ประโยชน์เป็นแนวทางในการบริหารและพัฒนามหาวิทยาลัย ตลอดจนเป็นแนวทางในการปรับปรุงวิธีการดำเนินงานต่างๆ อย่างมีประสิทธิผล เกิดประโยชน์ต่อบุคลากร นิสิต นักศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้อง
เนื้อหาหลักสูตร
1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยในฐานะหน่วยงานในภาคมหาชน
2. ความเปลี่ยนแปลงของกฎหมายมหาชนที่ส่งผลกระทบต่องานบริหารมหาวิทยาลัย
3. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัย
4. ระบบงบประมาณ การเงิน และการตรวจสอบประเมินผลมหาวิทยาลัย
รูปแบบ การบรรยายโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์
กลุ่มเป้าหมาย คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ผู้บริหารระดับอธิการบดี รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการสถาบัน ศูนย์หรือหน่วยงานที่เทียบเท่า หัวหน้าภาควิชา จากสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐ และเอกชน ตลอดจนบุคลากรจากหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการอุดมศึกษา
หัวข้อและวิทยากร
1. มหาวิทยาลัยในฐานะหน่วยงานในภาคมหาชน
โดย ศาสตราจารย์ ดร.สุรพล นิติไกรพจน์
ประเด็นหลัก
- แนวคิดในการเกิดขึ้นของมหาวิทยาลัยในระบบราชการ
- พัฒนาการของมหาวิทยาลัยในกำกับ
- ลักษณะเฉพาะและความเป็นอิสระของมหาวิทยาลัยที่แตกต่างจากหน่วยงานของรัฐรูปแบบอื่น
- ระบบบริหารจัดการพิเศษและสิทธิพิเศษของมหาวิทยาลัยในฐานะองค์กรในภาคมหาชน
2. ความเปลี่ยนแปลงของกฎหมายมหาชนที่ส่งผลกระทบต่องานบริหารมหาวิทยาลัย
โดย ศาสตราจารย์ ดร.สุรพล นิติไกรพจน์
ประเด็นหลัก
- กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองและการบริหารงานมหาวิทยาลัย
- กฎหมายข้อมูลข่าวสารของทางราชการกับความโปร่งใสของมหาวิทยาลัย
- กฎหมายความรับผิดทางละเมิดกับความรับผิดของบุคลากรมหาวิทยาลัย
- กฎหมายว่าด้วยการพิจารณาอนุญาตของทางราชการกับมหาวิทยาลัย
- แนวคิดว่าด้วยองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจกับมหาวิทยาลัย
3. ระบบบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยกับประเด็นปัญหาทางกฎหมาย
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกบุญ วงศ์สวัสดิ์กุล
ประเด็นหลัก
- ความแตกต่างระหว่างข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัยและลูกจ้างมหาวิทยาลัย
- ความแตกต่างระหว่างระบบทางบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยราชการกับมหาวิทยาลัยในกำกับ
- หลักเกณฑ์การแต่งตั้ง เลื่อนตำแหน่งของบุคลากรมหาวิทยาลัยที่กำหนดโดยองค์กรกลางบริหารงานบุคคล
- ปัญหาทางกฎหมายที่เกิดขึ้นในระบบบริหารบุคคลมหาวิทยาลัย
- ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการสรรหา การแต่งตั้งอธิการบดี และกรรมการสภามหาวิทยาลัยในระบบอุดมศึกษาในปัจจุบัน
4. ระบบงบประมาณ การเงิน และการตรวจสอบประเมินผลมหาวิทยาลัย
โดย ศาสตราจารย์ ดร.สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล
ประเด็นหลัก
- เกณฑ์มาตรฐานอุดมศึกษาในฐานะกรอบการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย
- ระบบการจัดทำและพิจารณางบประมาณของมหาวิทยาลัยไทย
- ระบบการประเมินมาตรฐานและประเมินผลที่เกี่ยวกับสถาบันอุดมศึกษา
- ปัญหาในทางปฏิบัติ เกี่ยวกับระบบงบประมาณ การเงิน และการประเมินมาตรฐานมหาวิทยาลัย
สิ่งที่ผู้อบรมจะได้รับ
1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายต่างๆ ที่ผู้บริหารและบุคลากรมหาวิทยาลัยควรทราบ เพื่อการการดำเนินงานการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง
2. ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ และประเด็นที่เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติต่างๆ ภายใต้กฎหมาย
3. มีความรู้ ความเข้าใจในบทบาท อำนาจหน้าที่ และความรับผิดทางกฎหมาย
4. มีความรู้ความเข้าใจกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถนำไปใช้ประโยชน์เป็นแนวทางในการบริหารและพัฒนามหาวิทยาลัย ตลอดจนเป็นแนวทางในการปรับปรุงวิธีการดำเนินงานต่างๆ อย่างมีประสิทธิผล เกิดประโยชน์ต่อบุคลากร นิสิต นักศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้อง
ค่าลงทะเบียน
21,000 บาท/ท่าน (ไม่รวมที่พัก)
ระยะเวลา
การอบรมหลักสูตร ใช้เวลา 3 วัน
ค่าลงทะเบียน 21,000 บาท ต่อ 1 ท่าน ครอบคลุมค่าใช้จ่าย ดังต่อไปนี้
1. เอกสาร และหนังสือประกอบการอบรมและกระเป๋า UGI 1 ชุด
2. อาหารว่าง (10.00-10.15 น.) และ อาหารว่าง (15.00-15.15 น.)
3. ค่าอาหารกลางวัน 3 วัน
** ทั้งนี้ ค่าลงทะเบียนไม่รวม ค่าที่พักและค่าเดินทางไปกลับระหว่างสถานที่อบรมถึงภูมิลำเนาของท่าน
การชำระค่าลงทะเบียน
เมื่อท่านลงทะเบียนออนไลน์เรียบร้อยแล้ว ท่านจะได้รับอีเมล์ “แบบชำระค่าลงทะเบียน” และสรุปข้อมูลการลงทะเบียนของท่าน (หากอีเมลแสดงผลไม่สมบูรณ์ กรุณากด Display images…)
ให้คลิ๊ก “Print” อีเมลดังกล่าว หรือปริ้นไฟล์ PDF ตามไฟล์ที่แนบไปในอีเมล เพื่อนำเอกสารไปชำระเงิน
กรุณาพิมพ์แบบชำระเงินไปยื่นที่เคาเตอร์ธนาคารกรุงไทย จำกัด ได้ทุกสาขา
ค่าธรรมเนียมในการโอนเงิน สถาบันคลังสมองของชาติ จะเป็นผู้รับผิดชอบ
กรณีชำระผ่านระบบ ATM ของธนาคารกรุงไทย จำกัด สามารถทำตามขั้นตอน ดังนี้
เมื่อชำระค่าลงทะเบียนแล้ว กรุณายืนยันการชำระค่าลงทะเบียนที่ 02-126-7632-34 ต่อ 122 (รัชนี)
ติดต่อ สถาบันธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย ภายใต้สถาบันคลังสมองของชาติ
โทรศัพท์ : 02-126-7632 ต่อ 101, 108 (สำนักงาน)
โทรสาร : 02-126-7635 (อัตโนมัติ)
E-mail : carjhan1411@gmail.com
2. คุณจริยา สระทองพิมพ์ โทร 02-126-7632-34 ต่อ 108 อีเมล์ jariya@knit.or.th